• Join Us " Omura Dojo "

    Training Place of Shotokan Karate Association Thailnd (JKA Thailand). Your great chance to train under the instruction of Sensei Fujikiyo Omura.Call : Mr. Bom 065-356-9356 Read More
  • What is Karate-do ?

    Recently karate has spread from Japan to all parts of the world. The reason for this world-wide popularity can be found not only in the powerful and dynamic elements of karate-do, but also in the combination of physical and mental training of this art of self-defense, which requires a healthy body, a sound spirit and a refined character. Further, the people nowadays might be very attracted by the beauty and the thrilling action of the karate movements. Read More
  • Greatest Karate Sensei

    Sensei Fujikiyo Omura was born in Shizuoka Prefecture on May 1st, 1953. He is the 8th dan black belt and instructor of the Japan Karate Association who has been accepted worldwide as one of the best instructors of JKA. Read More
  • 1
  • 2
  • 3

คาราเต้ หรือ คาราเต้-โด ต่างกันยังไง

 

shokinho

คาราเต้ฝึกท่านให้เหนือคน หรือท่านเพียงฝึกตนให้เป็นคาราเต้
ฝึกคาราเต้เพื่อเหนือผู้อื่น แต่คาราเต้กลับสอนให้เหนือใจตนเอง
ความหมายของ คาราเต้ และ คาราเต้โด 
การฝึกที่แท้จริงของคาราเต้ หาใช่เพียงการต่อสู้อย่างเดียวไม่

 

หลายคนคงจะสงสัยว่า คาราเต้ กับคาราเต้โด นั้นแตกต่างกันยังไง ทำไมถึงต้องมีโด และ คาราเต้ที่ไม่มีโด นั้นคืออะไร แล้วอย่างไหนดีกว่ากัน
ถ้าเราแปลตามตัวแล้ว คำว่า คาราเต้โด แปลว่า วิถีทางแห่งมือเปล่า(ในที่นี้หมายถึงการต่อสู้ด้วยมือเปล่า ปราศจากอาวุธ) โดย คาระ แปลว่า ว่างเปล่า เทะ หรือเต้ แปลว่า มือ(ในที่นี้หมายถึงวิชาหมัดมวย) และโด แปลว่า ศาสตร์ หรือวิถีทาง ซึ่งเราจะเห็นได้จากชื่อวิชาของญี่ปุ่น จะลงท้ายด้วยคำว่า โด ทั้งสิ้น

 


ทีนี้ คาราเต้ คืออะไร คาราเต้คือ วิชาการต่อสู้ของทางริวกิว หรือโอกินาว่าในปัจจุบัน ซึ่งมีรากฐานมาจากวิชามวยจีน ซึ่งได้รับอิทธิพลในด้านปรัชญาความคิดของชาวริวกิว จนพัฒนารูปแบบของตนเองเรื่อยมาจนเป็น คาราเต้ ในปัจจุบัน ซึ่งเหลือเค้าโคลงความเป็นมวยจีนอยู่แค่ท่าพื้นฐานการยืนการชกหมัดตรงเท่า นั้น คำว่า คาราเต้ ในโอกินาว่าสมัยก่อนที่จะมาเผยแพร่ที่ญี่ปุ่นนั้น หาได้แปลว่า มือเปล่า แต่ หมายถึง มือของจีน(ในที่นี้หมายถึง มวยจีน) ซึ่งเป็นคำพ้องเสียงว่า คาราเต้ เหมือนกัน ซึ่งการเปลี่ยน ตัวอักษรคำว่า คาระ เปลี่ยนเมื่อ เซนเซกิชิน ฟูนาโคชิ แห่งคาราเต้สายชูริเต้ ได้รับคำเชิญจากเซนเซคาโนแห่งยูโดโคโดกัน ให้ไปแสดงคาราเต้ที่โตเกียวนครหลวงของญี่ปุ่น ในฐานะที่ว่า คาราเต้จะถูกยกเป็นศิลปการต่อสู้ประจำชาติ เช่นเดียวกับ ยูโด เคนโด และยูยิตสุ การจะใช้ชื่อ คาราเต้ ที่มีความหมายว่า วิชาการต่อสู้ของจีน นั้นจึงไม่ควร จึงได้เปลี่ยนชื่อ คาราเต้ โดยนำคำว่า คาระ มาจาก คัมภีร์ปรัชญาปารามิตรา ของพุทธศาสนา ในประโยคที่ว่า 色即是空 空即是色 Shiki soku se kuu Kuu soku se shiki แปลว่า รูป ก็คือ ความว่างเปล่า  ความว่างเปล่า ก็คือ รูป  ซึ่งคำว่า คู กับ คาระ เป็นคำพ้องรูป ที่มีความหมายเหมือนกัน เซนเซกิชิน จึงนำคำนี้ออกมาใช้ ซึ่งเป็นการแสดงถึงหลักปรัชญาแห่งการฝึกคาราเต้ และการเป็นนักรบบูชิโด ด้วย และจากความหมายทางปรัชญานี้ คาราเต้ จึงมีความหมายทางปรัชญาได้ว่า วิชามวยแห่งความว่างเปล่า  เมื่อ คาราเต้ ได้แสดงถึง หลักปรัชญาอันสุดซึ้งแล้ว จึงนำคำว่า โด มาต่อท้ายเพื่อให้สอดคล้องกับวิชาอื่นๆ  และมิได้หมายถึง วิถีทาง เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังหมายถึง เต๋า หรือ เซน ซึ่งเป็นการฝึกฝนจิตวิณญาณด้วย ดังนั้น คำว่า คาราเต้ และคาราเต้โด จึงไม่ต่างกัน จะต่างก็แค่ชื่อเรียกเท่านั้น
คาราเต้ หมายถึง วิชาหมัดมวยแห่งความว่างเปล่าแล้ว อะไรคือเป้าหมายสูงสุดของคาราเต้  จะกล่าวถึงเรื่องนี้ต้องมองย้อนถึงคำว่า รูปคือความว่างเปล่า  รูปเปรียบได้เหมือนกับ พื้นฐานของวิชาคาราเต้ ความว่างเปล่าหมายถึงวิธีการใช้งานของคาราเต้ในขั้นสูงซึ่งไม่มีรูปแบบตาย ตัว ดั่งคำว่าไร้ลักษณ์ ไม่มีรูปแบบ การต่อสู้หยุดลงด้วย 一拳秘殺 Ik Ken Hi Satsu หรือ หนึ่งหมัดปลิดชีพ ซึ่งหมายถึงการล้มศัตรูด้วยการออกอาวุธเพียงครั้งเดียว  ส่วนคำว่า  ความว่างเปล่าก็คือรูป หมายถึง ในการออกอาวุธนั้นๆ ไม่ใช่เพียงแค่ว่าจะออกหมัดออกเท้าอย่างไรก็ได้ แต่ต้องจู่โจมด้วยพื้นฐานของคาราเต้ คือส่งแรงให้ถูกต้อง เพื่อหวังผลในพลังการทำลายให้ได้มากที่สุด โดยการออกการจู่โจมต้องออกอย่างเป็นธรรมชาติมากที่สุดด้วย นี่คือจุดสูงสุดของคาราเต้

ในเมื่อคาราเต้ เป็นวิชาที่ต้องอาศัยการฝึกฝนที่ยาวนาน และความเข้าใจอย่างแท้จริง ในการฝึกท่าพื้นฐานเดิมๆ ให้ชำนาญเป็นธรรมชาติ ประกอบกับความอันตรายของวิชา ดังนั้นการฝึกฝนคาราเต้แต่ดั้งเดิม จึงนำปรัชญาแห่งพระพุทธศาสนาเข้ามาสอดแทรก เพื่อขัดเกลาจิตใจของผู้ฝึกให้ผ่องใส  เสมือน แก้วใสที่ว่างเปล่า  มีความอดทนอดกลั้น ขยันหมั่นเพียร พร้อมที่จะค้นคว้าศึกษาจุดสูงสุดแห่งคาราเต้ และไม่นำคาราเต้ไปใช้ในทางที่ผิด ด้วยเหตุนี้ คาราเต้ จึงอาจกล่าวได้ว่า เป็นวิชาที่ช่วยเหลือผู้คนมากกว่าจะเป็นวิชาฆ่าคน และไม่ใช่แค่ว่า หลักปรัชญาจะช่วยไม่ให้นำคาราเต้ไปใช้ในทางไม่ดีอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังหมายถึงระเบียบวินัยในการฝึก ความอดทนอดกลั้น สมาธิปัญญา และอื่นๆ โดยเฉพาะ การถ่อมตน ถ้าเราคิดแต่ว่าเราเจ๋ง เราเก่ง เราจะละเลยการกลับมาทบทวนพื้นฐานของตนเอง ซึ่งจุดนี้จะทำให้การพัฒนาคาราเต้ในขั้นสูงของเราหยุดชะงักลง และอาจจะทำให้ ฝีมือที่สั่งสมมา และจิตใจเราตกต่ำลงไปเรื่อยๆได้ ดังคำสอนที่ว่า คาราเต้เปรียนเสมือนน้ำร้อน ถ้าไม่ให้ความร้อนอย่างต่อเนื่องน้ำก็จะเย็น แต่ถ้าเรามีความอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่ตลอดเวลา คิดว่าการเรียนรู้ฝึกฝนไร้ที่สิ้นสุด เราจะสามารถค้นหาจุดผิดพลาดของตนเองได้เรื่อยๆ และพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาราเต้เป็นสิ่งที่เรียนไม่รู้จบ สามารถพัฒนาได้ตลอดชีวิต และที่สำคัญการถ่อมตนจะทำให้เป็นที่รักใคร่ต่อทุกคนด้วย ครูบาอาจารย์ท่านเห็นดีเห็นชอบ ย่อมถ่ายทอดความรู้ต่อมาให้ท่านอย่างแน่นอน เช่นนั้นแล้ว คาราเต้จึงเป็นวิชาพิสูจน์คน ไม่ใช่แค่วิชาการต่อสู้เพียงอย่างเดียว วันนี้เราลองมองย้อนดูตัวเองสักนิดว่า   คาราเต้ฝึกท่าน หรือเพียงแค่ท่านฝึกคาราเต้ กันแน่

โอ๊สส

เขียนโดย โชคินโฮ

 

Review !

 
Omura Sensei

Sensei Omura's View

Through the practice of karate, we come to know what is good and bad for our karate, later what is good and bad for ourselves. With hard training and of course competitions too, we come to know how our body and mind responds to different given situations, and we try to make the best out of it, eventually we have to implement this hard earned knowledge in our daily lives.

Read More

The President

  • Chutinant Bhirombhakdi

Omura Sensei In Action

Karate Philosophy

  • What is Karate-do? +

    Understanding Karate-do !! Recently karate has spread from Japan to all parts of the world. The reason for this world-wide popularity Read More
  • Dojo Kun +

    The way to reach the true essence of Karate-do: Five Dojo Precepts To understand the Dojo Precepts is not easy, Read More
  • 1
  • 2
  • 3
Presets
BG Color
BG Patterns
Accent Color
Apply