คาราเต้ หรือ คาราเต้-โด ต่างกันยังไง

 

shokinho

คาราเต้ฝึกท่านให้เหนือคน หรือท่านเพียงฝึกตนให้เป็นคาราเต้
ฝึกคาราเต้เพื่อเหนือผู้อื่น แต่คาราเต้กลับสอนให้เหนือใจตนเอง
ความหมายของ คาราเต้ และ คาราเต้โด 
การฝึกที่แท้จริงของคาราเต้ หาใช่เพียงการต่อสู้อย่างเดียวไม่

 

หลายคนคงจะสงสัยว่า คาราเต้ กับคาราเต้โด นั้นแตกต่างกันยังไง ทำไมถึงต้องมีโด และ คาราเต้ที่ไม่มีโด นั้นคืออะไร แล้วอย่างไหนดีกว่ากัน
ถ้าเราแปลตามตัวแล้ว คำว่า คาราเต้โด แปลว่า วิถีทางแห่งมือเปล่า(ในที่นี้หมายถึงการต่อสู้ด้วยมือเปล่า ปราศจากอาวุธ) โดย คาระ แปลว่า ว่างเปล่า เทะ หรือเต้ แปลว่า มือ(ในที่นี้หมายถึงวิชาหมัดมวย) และโด แปลว่า ศาสตร์ หรือวิถีทาง ซึ่งเราจะเห็นได้จากชื่อวิชาของญี่ปุ่น จะลงท้ายด้วยคำว่า โด ทั้งสิ้น

 

อ่านเพิ่มเติม...

“บูชิโด” : วิถีแห่งซามูไร

เป็นเวลาหลายศตวรรษ ที่ ปรัชญาของซามูไร  วิถีแห่งนักสู้ เป็นที่กล่าวขาน ในประเทศญี่ปุ่น และ แพร่ขยายไปทุกมุมโลก พื้นฐานคำสอน ของ นิกายเซน ได้บ่มเพาะ หลักปฏิบัติ และการดำเนินชีวิตของ ซามูไร  ซึ่งความจริงแล้ว การกำเนิดขึ้นของ ซามูไร นั้นเพื่อรับใช้ เจ้านาย หรือ ไดเมียว ไปจนถึง โชกุน ผู้ปกครองเมือง  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายต่างที่กำหนดขึ้น  “การปฏิบัติตน ที่เคร่งครับสืบเนื่องกัน หลายอายุคน ทำให้เกิดหลักปฏิบัต ที่เคร่งครัด ของ ซามูไร”  ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติ ที่สำคัญของคนที่เป็นนักสู้ ทุกคน

 

samurai-1860-1880 บูชิโด จะขึ้นอยู่หลักปฏิบัติ 7 ประการ ซึ่งเป็นหลักการสำคัญ ในการดำเนินชีวิตไปจนชั่วชีวิตของซามูไร

  1. 正義 - seigi : The right decision and rectitude
    การรู้จักการตัดสินใจทำในสิ่งถูกต้อง และ เชื่อมันในการกระทำนั้น
  2. 勇氣 - yuki : Bravery and heroism
    มีความกล้าหาญ  สำหรับซามูไร จะต้องมีความกล้าหาญกล้าเผชิญหน้า กับ ทุกสิ่ง แม้แต่ความกลัวที่เกิดขึ้นภายในจิตใจตนเอง
  3. - jin: Compassion and benevolence to all
    มีความเห็นอกเห็นใจและความเมตตากรุณา กับทุกสิ่งรอบตัว หลักการนี้ เป็นหลักธรรมที่ยิ่งใหญ่ สิ่งทำให้ ซามูไร มีลักษณะเป็นผู้มีเมตตาธรรมสูงส่ง น่ายกย่อง
  4. 礼儀 - reigi : Courtesy and right action
    เป็นผู้มีมารยาทและปฏิบัติตนถูกกาละเทศะ การวางตัวที่เหมาะสม จะเป็นบุคลิกที่สำคัญของนักสู้
  5. - makoto: Truthfulness and utter sincerity
    เป็นผู้มีความจริงใจ   การปฏิบัตตนอย่างตรงไปตรงมา มีความจริงใจ ไม่พูดโกหก หลอกลวง ทำให้ซามูไร มีความน่าเชื่อถือ และได้รับความไว้วางใจ
  6. 名誉 - meiyo: Honor and glory
    ยึดถือเกียรติยศและศักดิ์ศรี เป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งแห่งชีวิต เป็นการนับถือตัวเอง มิใช่ยกตนเอง
  7. 忠義 - chugi: Devotion and loyalty
    มีความจงรักภักดี ในหลายครั้ง ซามูไรยอมสู้ จนตัวตาย เพื่อปกป้อง เจ้านายเหนือหัว ซึ่งสิ่งนี้ เองทำให้ ซามูไร  ได้รับความไว้วางใจ ให้อยู่ข้างกาย เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ในสังคมศักดินาของญี่ปุ่น มาช้านาน

Satsuma-samurai จิตวิญญาณของนักสู้ และ ความกล้าหาญจะเป็นหลักการสำคัญ ของ บูชิโด แต่สำหรับซามูไรแล้ว เป้าหมายสูงสุด ของ บูชิโด จะเป็น คุณธรรมที่สมบูรณ์แบบ ทั้งด้านความคิด และ การกระทำซามูไรแต่ละคน จะปฏิบัตตนอย่างเคร่งครัด มีความระมัดระวัง มารยาทในพิธีการต่างๆ เพื่อที่จะส่งเสริมให้ การดำเนินชีวิตประจำวัน  ประสานสอดคล้องกัน ระหว่างร่างกายกับจิตใจ ทำให้จิตใจเกิดความสงบ แม้จะเผชิญหน้า ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก  สำหรับคาราเต้ จะยึดหลักปฏิบัติ ของ บูชิโด เช่นเดียวกัน สืบเนื่องมาจากการปลูกฝังแนวคิดตั้งแต่อดีต ซึ่งปัจจุบัน คาราเต้ ก็ยังคงสืบทอดแนวคิด ต่างๆ ของ บุชิโด ซึ่งเป็นหลักการที่เป็นประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของศิลปะการป้องกันตัว

เรื่องโดย :  Mr.空手道

ตอบคำถามคาใจเกี่ยวกับคาราเต้

บทความนี้ เอามาจาก เวปไซท์ของ ชมรมคาราเต้ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดย ดร.พงศาล  มีคุณสมบัติ

แม้คาราเต้จะเป็นศิลปะการต่อสู้ที่อาจจะไม่ค่อยแพร่หลายนักในประเทศไทย  แต่เชื่อว่าหลายคนคงอาจเคยได้ยินถึงคาราเต้แล้วนึกสงสัยว่ามันคืออะไรกันแน่  ผมจึงถือโอกาสรวบรวมคำถามคาใจที่เคยได้ยินมามาเล่าให้ฟังจะได้รู้จักคาราเต้กันมากขึ้น

phongsanคาราเต้คืออะไร?

คาราเต้คือศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าแบบปะทะของญี่ปุ่นที่ดัดแปลงมาจากมวยจีน  โดยมีต้นกำเนิดอยู่ที่เกาะโอกินาว่าซึ่งเป็นเกาะที่อยู่ใต้สุดของญี่ปุ่นที่เคยเป็นของจีนมาก่อน  คาราเต้ใช้ทั้งมือและเท้าในการต่อสู้โดยแบ่งการฝึกฝนออกเป็น 3 ประเภทคือ  การฝึกเทคนิค (Kihon)  การฝึกท่ารำ (Kata)  และการฝึกการต่อสู้ (Kumite)  แม้ว่าคาราเต้จะมีอยู่หลายแขนง  แต่การฝึกฝนทั้ง 3 ประเภทนี้อย่างได้สมดุลก็ยังเป็นหัวใจหลักของคาราเต้เกือบทุกแขนง

คาราเต้มีกี่แขนง?

ในสมัยเริ่มแรกตอนที่คาราเต้ยังอยู่แต่เฉพาะในเกาะโอกินาว่า  แต่ละสำนักก็มีการคิดค้นฝึกฝนศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าที่ต่างกันออกไป  ชื่อของสำนักเหล่านี้จึงกลายมาเป็นชื่อแขนงของคาราเต้  เช่นโทมาริเตะ  นาฮาเตะ  และชูริเตะ  เป็นต้น  ต่อมาลูกศิษย์ลูกหาของแต่ละสำนักก็แยกตัวออกไปเปิดเอง  และแยกเป็นแขนงอื่นอีกหลายสิบแขนง  แม้แต่หลังจากที่มีการเผยแพร่คาราเต้เข้ามาในแผ่นดินใหญ่ของประเทศญี่ปุ่นและมีการจัดระเบียบแบบแผนแล้ว  คาราเต้ก็ยังคงแตกแขนงออกไปตามการตีความหมายและความถนัดของอาจารย์เจ้าของสำนักแต่ละท่าน  หากนับรวมคร่าวๆ แล้ว  ในปัจจุบันคาราเต้น่าจะมีไม่ต่ำกว่า 50 แขนงทั่วโลก  ในประเทศไทยมีการฝึกคาราเต้อย่างเป็นทางการเพียง 2 แขนงเท่านั้น  คือโกจูริว (หนึ่งในคาราเต้ดั้งเดิมก่อนเข้าประเทศญี่ปุ่น)   และโชโตกัน (คาราเต้แผนใหม่ที่ถูกเผยแพร่เป็นแขนงแรกจากโอกินาว่าสู่ประเทศญี่ปุ่น)

ทำไมคาราเต้ต้องฟันอิฐทำลายข้าวของด้วย?

การฟันอิฐชกไม้ที่เห็นกันในการแสดงสาธิตหรือในภาพยนต์เป็นเพียงแค่ส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่งของคาราเต้  ที่ใช้เป็นการวัดว่าผู้ฝึกสามารถรวมและส่งพลังได้คมแค่ไหน  ซึ่งสิ่งเหล่านี้  แม้สามารถนำไปใช้ประกอบการแสดงสาธิตที่คนดูประทับใจและจดจำได้  แต่นั่นไม่ใช่เป้าหมายของการฝึกคาราเต้แต่อย่างใด  ซึ่งแม้แต่คนที่ได้สายดำหลายคนอาจจะยังไม่เคยฟันอิฐมาก่อนเลยก็ได้

อ่านเพิ่มเติม...

"KIAI" การเปล่งเสียงร้อง สร้างพลัง

sukanyakame " สวัสดีค่ะน้องๆ ผู้ฝึกใหม่หรือฝึกกันมานานแล้ว เคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไม เวลาที่เราฝึก ผู้สอนมักจะบอกเสมอให้เราออกเสียงดังๆ ในขณะที่ทำท่าทางต่างๆ ????? ผู้ฝึกก็จะมีความรู้สึกเขินอาย ไม่กล้าที่ จะออกเสียงสักเท่าไร จึงอยากจะให้น้องๆ ได้รู้จักความหมายของการออกเสียงในเวลาฝึก !! "

การออกเสียงในเวลาฝึก ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า " Kiai "( 気合 ) อ่านว่า คิอาย หมายถึงการเปล่งเสียงร้อง และ เกร็งบริเวณท้องน้อย โดยเสียงที่เปล่งออกมานั้นจะต้องมี พลัง เสียงดัง และออกเสียงให้สั้นที่สุด ซึ่งอาจจะเป็นได้ดังนี้ " AE, EI,  YA, TA " หรืออาจจะเป็นเสียงอื่นๆ ที่เหมาะสมดังตนเอง 

จุดประสงค์ที่ให้ผู้ฝึกมีการออกเสียงขณะฝึก

  • 2005SiamCamp26 ตามความเชื่อของชาวจีน ในสมัยโบราณ บริเวณท้องน้อย หรือ เรียกว่า TANDEN เป็นจุดศูนย์รวมพลังชีวิต เป็นจุดที่มีการไหลเวียนของเลือด จากทั่วร่างกาย  ร่างกายของคนเรา จะแข็งแรงหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับ ความแข็งแรงของบริเวณดังกล่าว จึงให้มีการฝึกออกเสียง เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ตรงส่วนนี้ ควบคู่กับการบริหาร กล้ามเนื้อหน้าท้อง

  • ปรกติคนเราก็มีการออกเสียงในชีวิตประจำวัน แต่เราอาจจะไม่ทราบ หรือไม่นึกถึงประโยชน์ ของการออกเสียง สังเกตได้จาก เวลาที่เรายกของหนักๆ จะต้องมีการออกเสียง เพื่อรวบรวมแรง ให้สามารถยกของหนักๆ ได้ เช่นเดียวกันเวลาฝึก เราจึงต้องออกเสียงดัง เพื่อที่จะได้ออกแรงได้มาก ตามที่เราต้องการ สำหรับคนที่ไม่ค่อยชอบออกเสียง ขณะฝึก จะทำให้เหนื่อยง่าย เก็บกด ร่างกายไม่ผ่อนคลาย การฝึกฝนก็จะไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร

การเปล่งเสียงร้องกับการแข่งขัน

  • ในการแข่งขันคาราเต้ การเปล่งเสียงร้องขณะที่เรา โจมตี เพื่อหวังผลคะแนนนั้นเป็น เรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าหากเราไม่ร้องออกมา ถึงแม้ว่า เราจะชก หรือ เตะโดน คู่ต่อสู้ เราก็อาจจะไม่ได้คะแนน  เนื่องจากกรรมการจะพิจารณา ถึง ความตั้งใจในการเข้าทำ การเล็งเป็นหมายให้แม่นยำ ไม่ใช่ฟลุค

  • ส่วนในการแข่งขันประเภทท่ารำนั้นการเปล่งเสียง ในจังหวะของท่ารำนั้น จะต้องทำด้วยเสียงอันดัง มีพลัง ซึ่งจะเพิ่มเสน่ห์ให้กับท่ารำ แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจ และ สมาธิอันแน่วแน่

เกร็ดความรู้โดย : Ms.Kame

26 ท่ารำ โชโตกัน คาราเต้

26 Shotokan Kata's

This is the old version shotokan kata video clip for reminder your kata practice and good study from this video.

Video
Kata Name
Kiai#1
Kiai#2
Counts
Meaning
Heian Shodan

Heian Shodan
平安初段

อิอัน โชดัง

17 
21 
วิถีแห่งสันติ#1 (Peaceful Way)
Heian Nidan

Heian Nidan
平安二段

อิอัน นิดัง

11 
26 
26 
วิถีแห่งสันติ#2 (Peaceful Way)
Heian Sandan

Heian Sandan
平安三段

อิอัน ซันดัง

10 
20 
20 
วิถีแห่งสันติ#3
(Peaceful Way)
Heian Yondan

Heian Yondan
平安四段

อิอัน ยอนดัง

13 
25 
27 
วิถีแห่งสันติ#4 (Peaceful Way)
Heian Godan

Heian Godan
平安五段

อิอัน โกดัง

12 
19 
23 
วิถีแห่งสันติ #5 (Peaceful Way)
Tekki Shodan

Tekki Shodan
鉄騎初段

เท็กกิ โชดัง

15 
29 
29 
มั่นคง ดุจ ม้าเหล็ก#1 (Iron Horse)
Tekki Nidan

Tekki Nidan
鉄騎二段

เท็กกิ นิดัง

16 
24 
24 
 มั่นคง ดุจ ม้าเหล็ก#2 (Iron Horse)
Tekki Sandan

Tekki Sandan
鉄騎三段

เท็กกิ ซันดัง

16 
36 
36 
 มั่นคง ดุจ ม้าเหล็ก#3 (Iron Horse)
Bassai-Dai

Bassai-Dai
披塞大

บัสไซ ได

19 
42 
42 
ทะลุทะลวง ป้อมปราการใหญ่
(To penetrate a fortress)
Kanku-Dai

Kanku-Dai
観空大

คังคุ ได

15 
65
65 
ความมุ่งหมาย แห่งท้องฟ้า
(Viewing the sky)
Jitte

Jitte
十手

จิทเทะ

13 
24 
24 
10 ฝ่ามือ
(Ten hands)
Hangetsu

Hangetsu
半月

ฮังเก็ทสึ

11 
40 
41 
พระจันทร์ครึ่งเสี้ยว
(Haft moon)
Empi

Empi
燕飛

เอ็มปิ

15 
36 
37 
นกนางแอ่น ถลาลม (Flying swallow)
Gankaku

Gankaku
岩鶴

คังกาคุ

28 
42 
42 
 นกกระเรียนบนหินผา
(Crane on a rock)
Jion

Jion
慈恩

จิออน

17 
47 
47 
นามแห่งวิหาร
(Named after the temple)
Bassai sho

Bassai-Sho
披塞小

บัสไซ โช

17 
25 
27 
 ทะลุทะลวง ป้อมปราการเล็ก
(To penetrate a fortress)
Kanku sho

Kanku-Sho
観空小

คังคุ โช

6/28 
47 
47 
 ความมุ่งหมาย แห่งท้องฟ้า
(Viewing the sky)
Chinte

Chinte
珍手

ชินเทะ

32 
33 
ฝ่ามือลวง
(Incredible hands)
Unsu

Unsu
雲手

อุนสุ

36 
48 
48 
ฝ่ามือเมฆา
(Hand of a cloud)
Sochin

Sochin
壯鎭

โซวชิน

28 
40 
40 
สงบนิ่ง
(Preserve Peace)
Nijushiho

Nijushiho
二十四步

นิจู ชิโฮ

18 
32 
33 
24 กระบวนท่า
(24 steps)
Gojushiho dai

 Gojushiho-Dai
五十四歩大

โกจู ชิโฮ ได

54 
61 
62 
54 กระบวนท่าใหญ่
(54 steps)
Gojushiho Sho

 Gojushiho-Sho
五十四歩小

โกจู ชิโฮ โช

57 
64 
65 
 54 กระบวนท่าเล็ก
(54 steps)
Meikyo

 Meikyo
明鏡

เมเกียว

32 
--- 
33 
กระจกแห่งวิญญาณ
(Mirror of the soul)
Jiin

 Jiin
慈陰

จิอิน

11 
35 
35 
นามแห่งนักบวช
(Named after the saint)
Wankan

 Wankan
王冠

วันคัน

24 
--- 
24 
มงกุฏ แห่งกษัตริย์ (Crown of a king)
Presets
BG Color
BG Patterns
Accent Color
Apply